นี่คือบทความนึกสนุกของผมที่อยู่ดีๆก็อยากเขียนขึ้นมา เป็นบทความที่รวมหลายสิ่งหลายอย่างของ Fatal Frame ที่คุณอาจจะรู้และยังไม่รู้ 100 ข้อ (เวอร์ชั่น 1.0) เอาล่ะตามสไตล์ผมไม่มีไรต้องเกริ่นเยอะ เริ่มกันเลย
--------------------------------------------------------------------
1. เกม Fatal Frame ในแต่ละโซนจะมีชื่อไม่เหมือนกัน ในญี่ปุ่นจะเรียกว่า Zero ในยุโรปและออสเตรเลียจะเรียกว่า Project Zero และในโซนอเมริกาจะเรียกว่า Fatal Frame ส่วนบ้านเราที่คุ้นชินกันก็คือคำว่า Fatal Frame
2. แต่เดิมนั้นชื่อ Zero ในภาษาญี่ปุ่น ผกก. มาโคโตะ ชิบาตะ จะใช้ชื่อว่า Reikoku เป็นการเล่นคำของคำว่า Rei ซึ่งแปลว่าผีของญี่ปุ่น แต่สุดท้ายทางทีมงานก็ตัดสินใจใช้ชื่อเกมว่า Zero ซึ่งมีความหมาย 2 ความหมายที่แปลว่าเลขศูนย์หรือ Rei ที่ภาษาไทยแปลว่าผีแทน
3. ตัวเอกหลักของซีรี่ย์จะเป็นผู้หญิงทั้งหมด
4. สำหรับเกม Fatal Frame แล้วจะมี Easter Eggs หนึ่งที่เมื่อเราปล่อยจอยคอนโทรลเลอร์ไปนานๆ จะมีอะไรบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นกับหน้าจอ
5. ตัวเกมภาคแรกเวอร์ชั่น US และ EU จะมีคำว่า Based on true story (สร้างมาจากเรื่องจริง) ต่อหลังชื่อเกม แต่กลับกันเวอร์ชั่นภาษาญี่ปุ่นจะไม่มี
6. ที่ใช้ชื่อว่า Based on true story นั้นไม่ใช่เพราะเหตุการณ์ในเกมเป็นเรื่องจริง แต่เป็นเพราะองค์ประกอบ ตำนานภายในเกมนั้นมีโครงสร้างมาจากเรื่องที่มีอยู่จริง
7. ดีไซน์ของมิกุใน Fatal Frame ภาคแรก เวอร์ชั่น US จะมีความแตกต่างจากเวอร์ชั่นญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รูปร่างหรือสีผม
8. เกมในภาคแรก เนื้อเรื่องจะอยู่ในช่วงปี 1986 ซึ่งเป็นปีที่ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ(โทรศัพท์มือถือวางขายในญี่ปุ่นปี 1987) ซึ่งนี่ก็เป็นความตั้งใจของ ผกก. เพื่อที่จะสร้างความรู้สึกที่โดดเดี่ยวระหว่างเล่น
9. เกมในภาคแรกไม่มีจังหวะ Fatal Frame
10. นอกจากไม่มีจังหวะ Fatal Frame แล้วยังไม่มีเลนส์อีกด้วย
11. กล้องในภาคแรก ไม่มีการรีโหลดฟิล์ม
12. ฟิล์มสีเขียว สีแดงและสีทองในภาคแรกจะแตกต่างจากภาคหลังๆ โดยสีเขียวจะเป็น Type-37 สีแดงจะเป็น Type-74 และ สีทองเป็น Type-90 แทน ซึ่งในภายหลัง สีเขียวจะกลายเป็น Type-61 , Type-90 จากสีทองจะกลายเป็นสีแดง และ Type-00 จะเป็นสีทอง
13. ในภาคแรก จุดบางจุดในคฤหาสน์ฮิมุโระจะเปลี่ยนไปทุกๆคืน เช่น จากคืนแรกที่บันไดพัง คืนต่อมาบันไดที่พัง จะกลับมาเป็นปกติ
14. ในภาคแรก หากคุณเล่นเกมแบบสปีดรันจนเร็วพอ คุณจะไม่เจอวิญญาณบางตัวที่เคยสุ่มเจอในตอนที่เล่นแบบปกติ
15. กิ๊บติดผมที่มิกุติด เป็นสิ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่รุ่นมิโคโตะ คุณยายของเธอ และมิกุก็ใส่มันใน Fatal Frame ทุกๆภาค
16. การชาร์จพลังของกล้องใน Fatal Frame ภาคแรก บน Ps2 ไม่ได้เป็นแบบวงกลม แต่จะเป็นตัวอักษรแนวนอนที่ด้านล่างของกล้องแทน ก่อนที่ 1 ปีต่อมา จะเปลี่ยนมาเป็นการชาร์จกล้องแบบวงกลมในเวอร์ชั่นที่ลงให้ XBOX
17. ระดับความยากที่ยากที่สุดของเกม Fatal Frame ไม่ใช่ระดับ Nightmare แต่เป็นระดับ Fatal ซึ่งจะมีปรากฏแค่ในภาค Fatal Frame : Special Edition และ Fatal Frame 2 Director’s cut ที่ลงเฉพาะเครื่อง XBOX เท่านั้น
18. มิกุเคยไปปรากฏตัวในเกมอื่นอย่าง Monster Rancher IV โดยเป็นมอนส์เตอร์ประเภทพิกซี่ในเกมนี้ แต่ต้องใช้แผ่น Ps2 เท่านั้นถึงจะได้รับมิกุ
19. Fatal Frame ภาค 2 เป็นภาคแรกที่เรามี NPC เดินติดตาม
20. เซฟเกมของ Fatal Frame ภาค 2 บน Ps2 จะเป็นผีเสื้อสีแดง ในขณะที่อีก 2 ภาค เป็นกล้องประจำภาคนั้นๆ
21. ระบบกล้องของภาค 2 ไม่ได้เป็นการชาร์จแต่จะขึ้นอยู่กับระยะห่างของผู้เล่นกับวิญญาณที่เป็นเป้าหมาย
22. ธีมสีของภาค 2 คือสีแดง
23. ในภาค 2 บน PS2 มิโอะและมายุเป็นตัวหลักที่เด็กที่สุด (15 ปี)
24. ตัวคันจิของชื่อมิโอะ (澪) มีคำว่า零 ที่เป็นชื่อของเกม Fatal Frame ในภาษาญี่ปุ่น
25. ซาเอะในภาค 2 original ไม่ได้จับทีเดียวตาย
26. ในบรรดาไตรภาคบน Ps2 ภาค 2 เป็นภาคที่ถ่าย Spirit List วุ่นวายที่สุด เพราะจะมีเหตุการณ์ที่มี Spirit List 2 ตัว เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่เลือกถ่ายได้แค่ภาพเดียวต่อ 1 รอบ ถ้าอยากจะถ่ายให้ครบ 2 ตัว จะต้องเล่นใหม่อีกรอบ อีกทั้งยังมี Spirit List ที่โผล่มาเฉพาะระดับ Hard อีกด้วย
27. ดร. คุนิฮิโกะ อาโซ บรรพบุรุษของมิโอะ และเป็นผู้ประดิษฐ์กล้อง Obscura ถูกกล่าวชื่อถึงครั้งแรกใน Fatal Frame ภาค ที่2
28. ตระกูลคุโรซาวะเอามาจากนามสกุลของผู้กำกับที่ คุณเคย์สุเกะ คิคุจิ หนึ่งในผู้สร้างเกม Fatal Frame ชอบ
29. ใน Fatal Frame 2 บน Ps2 ซาเอะจะสู้ได้ในเฉพาะระดับ Hard และ Nightmare เท่านั้น
30. ในภาค Fatal Frame 2 Director’s cut ที่ออกมาในปี 2004 นอกจากจะมีความยาก Fatal แล้ว ยังมีโหมดมุมมองแบบ First Person อีกด้วย
31. กล้อง Obscura ในโหมด First Person ก็มีรูปร่างแตกต่างไปจากแบบปกติเช่นกัน
32. ในระหว่างการพัฒนาตัวเกมภาค 2 แต่เดิมแล้วชื่อของผู้สร้างกล้อง Obscura คือ โคบายาชิ เคนจิ ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนมาเป็น ดร.อาโซ คุนิฮิโกะ ในภายหลัง แต่ถึงกระนั้นในกล้องObscura ของภาค 2 โหมด viewfinder และ วิทยุ Spirit Stone ก็ยังมีชื่อของ โคบายาชิ เคนจิสลักอยู่ ซึ่งในภาค 2 รีเมค ชื่อสลักพวกนี้ก็ได้ถูกถอดออกไป
33. มิกุ มิโอะ และมายุ เคยไปปรากฏตัวและมีส่วนร่วมในเกมซีรี่ย์ Super Swing Golf หรือที่รู้จักกันในชื่อว่าปังย่า(PangYa!) โดยมิโอะและมายุจะปรากฏตัวใน Gallery ของ Super Swing Golf ภาค 1 ส่วนมิกุจะมาเป็นชุดให้ปลดล็อคใน Super Swing Golf ภาค 1 และ 2
34. Fatal Frame เคยมีภาคเสริมเป็นเกมบนโทรศัพท์มือถือที่เปิดให้เล่นเฉพาะภายในญี่ปุ่นชื่อว่า Real Zero: Another Edition ซึ่งเป็นเกมที่ผู้เล่นจะต้องตามหาสถานที่ของวิญญาณและใช้มือถือถ่ายสู้กับวิญญาณ แต่ปัจจุบันเกมนี้ได้ถูกปิดบริการไปแล้วในเดือนมีนาคมปี 2011
35. Real Zero เป็นเกมที่ต้องจ่ายรายเดือนด้วยราคา 525 เยน ต่อเดือน
36. แต่เดิม Real Zero จะมีภาพวิญญาณ 70 ภาพ แต่ในภายหลังจะถูกอัพเดทเข้ามาแบบรายเดือน โดยที่วิญญาณแต่ละตัวจะมาจากภาค 1 และ 2
37. Real Zero เคยถูกวางแผนตีตลาดในมือถือ US แต่สุดท้ายก็ถูกยกเลิกไป
38. Fatal Frame ภาค 2 เคยถูกนำมาฉายเป็นหนังสั้น 4 มิติ ความยาว 7-9 นาที ในชื่อ Zero4D โดยผู้ชมจะต้องสวมใส่แว่นสามมิติ ซึ่งปัจจุบันหนัง CG นี้ได้ปิดบริการไปเรียบร้อยแล้ว
39. ฉาก CG ใน Zero4D ถูกสร้างขึ้นโดย VSL Laboratory บริษัทเดียวกับที่ทำ Trailer ของเกม Fatal Frame 2 และมีการนำฉากบางส่วนจาก Trailer ของเกมมาใส่ไว้ด้วย
40. ธีมสีของ Fatal Frame ภาค 3 เป็นสีน้ำเงิน อีกทั้งสีนี้ก็เป็นสีโปรดของเรย์ นางเอกหลักของภาค 3 อีกด้วย
41. ชื่อของเรย์ เป็นการเล่นคำมาจากชื่อของเกมในภาษาญี่ปุ่น ที่ใช้คำว่า 零 ที่อ่านออกเสียงว่าเรย์เหมือนกัน
42. ในเกมยูกับเรย์เป็นคนรักกัน ถ้าเอาชื่อของยูกับเรย์มาวางติดกันจะได้คำว่ายูเรย์ ซึ่งแปลว่าผีในภาษาญี่ปุ่น
43. ธีมความกลัวของภาค 3 คือความกลัวของการถูกรุกราน
44. ในตอนแรกมิโอะถูกวางแผนให้เป็น 1 ในตัวละครหลักของภาค 3 แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนมาเป็นตัวละครใหม่อย่าง เคย์แทน เพราะบทบาทของมิโอะได้สิ้นสุดอย่างลงตัวไปแล้ว
45. Fatal Frame 3 ฉากจบแบบรูปถ่ายคือฉากจบจริง แต่การที่จะปลดล็อคฉากจบนี้ได้ ผู้เล่นจะต้องเคีลยเงื่อนไขบางอย่าง ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวจะทำได้ก็ต่อเมื่อเล่นเกมจบไปแล้ว 1 รอบ ดังนั้นผู้เล่นจะต้องเล่นเกมถึงสองรอบเพื่อปลดล็อคฉากจบที่แท้จริง
46. เรย์เคยบอกว่าเธอเคยทำงานเป็นช่างภาพให้กับให้กับแมกกาซีนแฟชั่น
47. ฉากอาบน้ำฝักบัวของเรย์เป็น 1 ในบรรดาฉากอาบน้ำฝักบัวที่ดีที่สุด
48. Fatal Frame ภาค 4 เป็นภาคแรกที่มีเพลงถึง 2 เพลงด้วยกันคือ NOISE และ Zero no Chouritsu ซึ่งทั้งสองเพลงขับร้องโดยคุณ Tsuki Amano
49. ธีมสีของ Fatal Frame ภาค 4 เป็นสีเหลือง ซึ่งชุดที่รุกะ นางเอกหลักของภาคใส่ ไม่ว่าจะตอนเด็กหรือตอนโตก็เป็นสีเหลืองเช่นกัน
50. ธีมความกลัวของภาค 4 คือความกลัวที่เกิดกับร่างกายของตัวเอง
51. เนื่องจาก Glitch ของเกม ทำให้ Fatal Frame 4 บนเครื่อง Wii เป็นเกมภาคเดียวที่ถ่าย Ghost List ได้ไม่หมด (ปัจจุบันในเวอร์ชั่น Remastered ได้แก้ไข Glitch พวกนี้เรียบร้อยแล้ว)
52. เหตุการณ์ของ Fatal Frame 4 เกิดขึ้นก่อน Fatal Frame ภาคแรก
53. ในห้องของรุกะจะมีรูปภาพของประภาคารสึคุโยมิด้วย ซึ่งประภาคารสึคุโยมิ จะเป็นสถานที่สุดท้ายของเกมที่ผู้เล่นจะได้ไปสำรวจ
54. สำหรับฉากจบของภาค 4 ไม่มีการยืนยันว่าภาคไหนเป็นฉากจบที่แท้จริง แต่คุณ มาโคโตะ ชิบาตะ Director ของเกมนี้ บอกว่า เขาชอบฉากจบแบบที่มีภาพถ่ายมากกว่า
55. โจชิโร่จะหยิบของและขึ้นบันไดเร็วกว่าตัวละครหญิงในเกม
56. ใน Intro Chapter ช่วงได้ใช้กล้องครั้งแรก มาโดกะจะไม่มีวันตาย
57. ผู้คนบนเกาะโรเงทสึใน Fatal Frame 4 จะไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
58. ชื่อของห้องพักของผู้ป่วยในหอพักโรเงทสึจะมีคำว่าเดือนที่อยู่ในปฏิทินจันทรคติทุกห้อง
59. ในขณะที่ห้องสำนักงานของนางพยาบาลในทุกๆชั้นของหอจะมีชื่อเกี่ยวกับฤดูกาลแทน
60. เมื่อเราถ่ายรูปตุ๊กตาโฮซุกิ จะมีภาพเด็กสาวที่หน้าตาน่ากลัวขึ้นมา แท้จริงแล้วนั่นก็คืออายาโกะ
61. ซาคุยะจะมีอยู่ 2 ร่าง ร่างแรกจะเป็นร่างเงา ส่วนร่างที่สองจะเป็นร่างจันทรคราส ซึ่งร่างที่สองจะปรากฏในตอนสุดท้าย แต่ใน mission mode ด่านสุดท้าย เราจะสามารถเจอได้ทั้ง 2 ร่าง
62. ในห้องนอนของอายาโกะ(ที่มีแขนตุ๊กตาห้อยลงมา) ถ้าอายาโกะปรากฏตัวในห้องนี้ เธอจะปรากฏตัวโดยการโจมตีผู้เล่นก่อนเสมอไม่ว่าจะเป็นในเนื้อเรื่องหรือ Mission Mode แต่ถ้าเป็นที่อื่น เธอจะปรากฎตัวตามปกติแบบผีทั่วไป
63. Fatal Frame 4 ถูกพัฒนาโดยทีมใหม่ที่ชื่อว่า TACHYON ไม่ใช่ทีม Project Zero (ซึ่งปัจจุบันทีมนี้ไม่มีแล้ว)
64. ดนตรีประกอบของ Fatal Frame 4 จะถูกแต่งขึ้นโดยทาคาดะ มาซาฟุมิ ไม่ใช่ โทโยดะ อายาโกะ ที่เคยแต่งดนตรีให้ Fatal Frame ภาคอื่นๆ รวมถึง Spirit Camera: The Cursed Memoir ด้วย
65. Spirit Camera: The Cursed Memoir ภาค Spin-off ของเกม Fatal Frame แต่เดิมแล้วจะใช้ชื่อว่า Dr. Asou's Spirit Camera แต่คุณคิคุจิได้บอกว่าคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่า Dr.Asou เป็นใครจึงใช้ชื่อในแบบปัจจุบัน อีกชื่อหนึ่งที่ถูกเสนอก็คือ AR Horror Games
66. โหมดเนื้อเรื่องของ Spirit Camera: The Cursed Memoir ในโซน US จะใช้ชื่อว่า Fatal Frame: Diary of faces ส่วนของยุโรปจะใช้ชื่อว่า Project Zero: The Purple Diary
67. Spirit Camera: The Cursed Memoir ในเวอร์ชั่นญี่ปุ่น มายะจะมีอายุ 15 ปี แต่ในเวอร์ชั่นอังกฤษทั้ง 2 โซน มายะจะมีอายุ 18 ปี
68. ตัวละครอากิระใน Spirit Camera: The Cursed Memoir เวอร์ชั่น US จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โคจิ ส่วนเวอร์ชั่น EU จะเพิ่มนามสกุลเข้าไปเป็น ฮานาบุสะ อากิระ
69. กล่องเกม Spirit Camera: The Cursed Memoir เวอร์ชั่น JP และ EU ผู้เล่นจะสามารถมองเห็นดวงตาแอบมองมาผ่านกล่องเกมได้ ซึ่งดวงตาที่ว่าก็คือปีศาจ โมคุโมคุเรน ตามตำนานของญี่ปุ่น ซึ่งกล่องเกมเวอร์ชั่น US ไม่มีสิ่งนี้
70. Spirit Camera: The Cursed Memoir มีเนื้อเรื่องสั้นที่ชื่อว่า Another Story จำนวน 5 ตอน และบทนำกับบทจบอีก 2 ตอน รวมเป็น 7 ตอน โดยเรื่องราวจะเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับไดอารี่สีม่วง
71. นอกจากนี้ Spirit Camera: The Cursed Memoir ก็ยังมีหนังสั้น Mini-Drama 2 ตัวอีกด้วย โดยจะเป็นเวอร์ชั่นญี่ปุ่น 1 ตัวความยาว 12 นาที เนื้อเรื่องกล่าวถึงหญิงสาวสามคนที่กำลังเล่นเกมพร้อมกับไดอารี่ต้องสาปในมือ และเวอร์ชั่นอังกฤษอีก 1 ตัวอีก ความยาวประมาน 5 นาที ที่กล่าวถึงชายหนุ่มและหญิงสาวที่พบกับไดอารี่ประหลาดในบ้านของชายหนุ่ม ซึ่งหนังสั้นทั้ง 2 ถูกสร้างมาเพื่อโปรโมทเกม Spirit Camera: The Cursed Memoir นั่นเอง
72. Spirit Camera: The Cursed Memoir ในโหมด Ghost Camera มีตัวละครอย่างรุกะ มิซากิ มิโอะและมายุ ด้วย
73. ชื่อทางการของ Fatal Frame ภาค 2 เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ที่ถูกนำมารีเมคลง Wii คือ Project Zero 2 : Wii Edition ส่วนคำว่า Deep Crimson Butterfly เป็นการแปลมาจากชื่อเกมในภาษาญี่ปุ่น
74. Project Zero 2: Wii Edition ไม่มีในโซน US
75. Project Zero 2: Wii Edition เป็นภาคแรกของซีรี่ย์ที่สามารถใช้เลนส์ได้พร้อมกัน 3 อัน
76. มิโอะและมายุในภาครีเมคมีอายุ 17 ปี
77. ในภาครีเมคเครื่อง wii คนส่วนมากมักจะไม่รู้ว่ามายุวิ่งได้ โดยการกดปุ่ม C บน Nunchuck ค้าง (เป็นปุ่มที่ใช้เดินแบบ Lateral movement หรือ Side-Step เป็นการเดินไปด้านข้าง) แล้วเดินไปข้างหน้า พร้อมกับกดปุ่ม Z(ปุ่มวิ่ง) ค้าง เธอก็จะวิ่ง แต่ถ้าจะเลี้ยวต้องปล่อย แล้วเดินเลี้ยวธรรมดา เพราะมายุไม่สามารถวิ่งเลี้ยวได้
78. ใน Project Zero 2: Wii Edition ผู้เล่นสามารถสู้กับซาเอะได้ในทุกระดับความยาก หากทำเงื่อนไขได้ถูกต้อง แต่ซาเอะก็จับทีเดียวตายในทุกระดับความยากเช่นกัน
79. Project Zero 2: Wii Edition สามารถเล่นได้ 2 คน โดยผู้เล่นคนที่ 2 จะสามารถช่วยผู้เล่นคนที่ 1 ถ่ายวิญญาณได้ โดยการกดปุ่มถ่ายรูปพร้อมกันกับผู้เล่นคนที่ 1 อีกทั้งยังมี Shot พิเศษที่เรียกว่า Synchro Shot เมื่อทั้งสองคนกดถ่ายรูปพร้อมกันอีกด้วย (เหมาะสำหรับคนชอบดูคนข้างๆเล่น แต่อยากมีส่วนร่วมมาก)
80. Haunted House Mode หรือโหมดบ้านผีสิงใน Project Zero 2: Wii Edition จะมีฉากโรงพยาบาลไฮบาระด้วย อีกทั้งยังมีวิญญาณจากภาค 1 และภาค 4 เช่น ผีตาบอด ผีคอหัก หัวผู้หญิงลอยได้จากภาค 1 ส่วนภาค 4 จะมี อายาโกะ ชิเอะ ฮิมิโกะ และเคียวโกะ
81. Haunted House Mode ใน Project Zero 2: Wii Edition จะมีด่านอยู่มากมาย แต่จะมีอยู่ด่านหนึ่ง ที่จะมีมิโอะและมายุในชุดต่างๆเดินออกมาให้เราถ่ายแบบได้เพื่อเก็บแต้มได้ และมีอีกด่านที่เราจะต้องวิ่งหนีมายุเก็บตุ๊กตาโดยไม่ให้มายุจับเราได้
82. Haunted House Mode ใน Project Zero 2: Wii Edition เป็นโหมดแรกของเกมที่สามามารถเล่นได้ 2 คน โดยผู้เล่นคนที่ 2 จะสามารถสร้างเหตุการณ์ต่างๆได้ เช่นเรียกผีหรือเสียงผีออกมาทำให้ผู้เล่นคนที่ 1 ตกใจกลัว
83. เพลงจบของ Fatal Frame 2 เวอร์ชั่นดั้งเดิม ชื่อว่า Chou แปลว่าผีเสื้อ(Butterfly) ส่วนเพลงจบของ Project Zero 2 : Wii Editon ชื่อว่า Kurenai แปลว่าสีชาด(Crimson) เมื่อเอาชื่อเพลงทั้งสองมาต่อกันจะได้คำว่า ผีเสื้อสีชาด หรือ Crimson Butterfly ซึ่งเป็นชื่อภาคของ Fatal Frame ภาค 2 นั่นเอง
84. คุณ Tsuki Amano ผู้แต่งเพลง Chou และ Kurenai ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จากบทเพลง เพลง Chou คือมุมมองของมายุ ในฐานะผีเสื้อที่บินได้ และเพลง Kurenai คือมุมมองของมิโอะ ในฐานะผีเสื้อที่บินไม่ได้นั่นเอง
85. คุณ Tsuki Amano บอกว่าสาเหตุที่เธอใช้คำว่า Kurenai เป็นตัวฮิรางานะ เป็นเพราะว่ามีชื่อเพลงที่มีชื่อเดียวกันและมีชื่อเสียงอยู่แล้วนั่นเอง
86. มิโอะและมายุเคยปรากฎเป็น Trophy ในเกม Super Smash Bros. บน Wii และเป็น Spirit ในเกม Super Smash Bros Ultimate บน Nintendo Switch
87. โมเดลมิโอะและมายุในเวอร์ชั่น Wii สามารถไปปรากฏตัวบน Spirit Camera: The Cursed Memoir ได้ ด้วยระบบ AR โดยใช้ภาพที่อยู่ในเว็บไซต์หลักหรือคู่มือของเกม Project Zero 2:Wii Edition (มีเฉพาะโซน JP และ EU เท่านั้น)
88. Fatal Frame: Maiden of Black Water เป็นส่วนหนึ่งของ Zero Media Mix ที่ถูกประกาศในปี 2014 ในญี่ปุ่น ประกอบไปด้วย
- Zero: A Curse Affecting Only Girls แบบนิยาย
- Zero: Nuregarasu no miko หรือ Fatal Frame: Maiden of Black Water (Fatal Frame ภาค 5)
- Zero: Kage Miko หรือ มังงะ Fatal Frame: Shadow Priestess
- Zero: The Movie หรือ Fatal Frame ฉบับภาพยนตร์
89. ตอนแรกที่เกม Fatal Frame: Maiden of Black Water ยังมีแค่ภาษาญี่ปุ่น ในตอนนั้นก็มีชื่อภาษาอังกฤษอยู่หลายชื่อมาก เช่น The Black-Haired Shrine Maiden หรือ Oracle of the Sodden Raven
90. ธีมสีของ Fatal Frame: Maiden of Black Water คือสีดำ
91. เพลง Higanbana ของ Anju เป็นเพลงแรกที่ไม่ใช่เพลงของ Tsuki Amano และเป็นธีมหลักของ Fatal Frame: Maiden of Black Water
92. แต่ถึงอย่างนั้นถ้าใส่ชุดกิโมโนให้ยูริ เพลงจบของเกมจะเปลี่ยนเป็นเพลง Torikago - in this cage-( 鳥籠 -in this cage-) ของ Tsuki Amano แทน
93. งานอดิเรกของยูริคือการปั่นจักรยาน
94. ตอนที่คุณคิคุจิ เคย์สุเกะ Producer ของเกม Fatal Frame ได้อ่านชื่อของมิอุครั้งแรก เขาคิดว่าทีมงานเขียนชื่อมิกุผิด
95. Fatal Frame: Maiden of Black Water เป็นภาคแรกที่มีตัวละครจากเกมอื่น อย่างอายาเนะที่เป็นตัวละครจาก Dead or Alive เข้ามามีส่วนร่วมและมีตอนเป็นของตัวเองด้วย
96. ในตอนแรกได้มีประเด็นในหมู่ผู้พัฒนาว่าตัวละครที่ใส่เข้าควรเป็นมิกุหรืออายาเนะดี สุดท้ายก็กลายเป็นว่าใส่เข้าไปทั้งสองตัว
97. เกม Night of Azure 2 เวอร์ชั่น Switch มี DLC ชุดคอสตูมของยูริด้วย
98. ยูริได้ไปปรากฏตัวเป็น Assist Trophy ใน Super Smash Bros. Ultimate
99. ตัวละครใน Fatal Frame: Shadow Priestess มีชื่อเกี่ยวกับนกและน้ำทุกคน ยกเว้นริวซากิ
100. ตอนที่ 7 ของ Fatal Frame: Shadow Priestess ในภาษาญี่ปุ่นมีชื่อตอนว่า Nuregarasu เป็นชื่อที่อ้างอิงถึงชื่อ Zero: Nuregarasu no miko หรือ Fatal Frame: Maiden of Black Water ในภาษาญี่ปุ่น
--------------------------------------------------------------------
เอาล่ะหมดกันไปแล้วกับ 100 ข้อ ถ้ามีอีกผมจะค่อยมาเพิ่มทีหลัง แต่สำหรับเวอร์ชั่น 1 เอาไว้ที่ 100 ข้อก่อน ส่วนนิยายของ Fatal Frame ตอนนี้ผมกำลังคิดอยู่ว่าจะแปลดีหรือเปล่า เพราะแน่นอนว่าผมแปลมาจากภาษาอังกฤษ ซึ่งมันอาจจะทำให้คนบางกลุ่มรู้สึกไม่ค่อยชอบเพราะไม่ได้มาจากต้นฉบับ ผมเข้าใจแหละเรื่องสำนวนภาษาอะไรงี้ มันจะไม่ค่อยสละสลวยเท่าไหร่ ถ้าคิดยังไงก็อย่าลืมบอกกันได้นะครับ ผมขอตัวไปตะลุยเอาชีวิตรอดในเมืองแรคคูนซิตี้ต่อละ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับและก็ ถ้าชอบก็อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆอ่านด้วยนะครับ
บทความสุดยอดมาก เพื่งมาอ่าน รอภาคใหม่ๆต่อไป แต่ก็อยากให้ทำรีเมคนะ ...อิอิ.....
ตอบลบขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ ตอนนี้สำหรับผมแบบไหนก็ได้หมดครับ 555
ลบ